ยินดีต้อนรับ

abczaa...ความซ่า...ไม่มีขีดจำกัด...แหล่งรวมไลฟ์สไตล์อันหลากหลายของคนรุ่นใหม่ ยินดีต้อนรับทุกท่าน ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชม...^o^

ลิ้นมังกร

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552



ลิ้นมังกร
ชื่อสามัญ Mather - in - law's Tongue
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sancivieria.
ตระกูล AGAVACEAE
ถิ่นกำเนิด แถบทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ
ต้นลิ้นมังกรเป็นพืชที่ปลูกง่ายและทนทาน สามารถอยู่ในที่ร่มในบ้านได้ดี เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้นปลูกไม้ประดับในอาคาร มีพันธุ์ให้เลือกปลูกได้มากถึงประมาณ 70 ชนิด เป็นต้นไม้ที่ชาวไทยรู้จักกันดีและนิยมปลูกกันอยู่ทั่วไป พันธุ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ ลิ้นมังกรขอบใบเหลือง Sansevieria Trifasciata เนื่องจากมีสีสดใสและมีขอบใบเหลือง ทำให้ดูสวยงามกว่าพันธุ์อื่น สามารถปลูกโดยไม่ต้องใช้ดิน ชาวจีนสมัยก่อนนิยมนำมาปักหรือปลูกในแจกัน ปัจจุบันยังเป็นที่นิยมปลูกกันมากในต่างประเทศอีกด้วย
ลักษณะทั่วไป
ลิ้นมังกรเป็นพรรณไม้ ที่มีลำต้นเป็นหัวหรือเหง้าอยู่ในดิน ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อ ๆ ส่วนใบเกิดจากหัวที่โผล่ออกมาพ้นดินเป็นกอ ใบมีลักษณะยาว 30-50 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร แข็งเป็นมัน มีปลายแหลม โค้งงอเล็กน้อย ขอบใบเรียบและมีสีเหลือง กลางใบสีเขียวอ่อน มีเส้นประสีเขียวเข้ม ก้านดอกประกอบด้วยกลุ่มดอกเป็นชั้น ๆ ดอกมีขนาดเล็ก สีขาว มีกลีบประมาณ 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่จะมีขนาด 2 เซนติเมตร เรียงกันเป็นแนวตามชั้นของก้านดอก ขนาดใบ และสีสัน จะแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์
การปลูก มี 2 วิธี
1. การปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน นิยมปลูกในแปลงปลูก หรือปลูกเป็นแนวรั้วบ้านตามแบบโบราณ ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน : อัตรา 1 : 1 ผสมดินปลูก
2. การปลูกเพื่อประดับภายในและภายนอกอาคาร มักปลูกในกระถาง ควรใช้กระถางทรงสูง ขนาด 10-15 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 1 ผสมดินปลูก และควรเปลี่ยนกระถางทุก 1-2 ปี เพราะเนื่องจากการขยายตัวของรากและหน่อและเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่แทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป
การดูแลรักษา
แสงแดด : ต้นลิ้นมังกรต้องการแสงแดดปานกลาง จนถึงแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ : ต้องการน้ำในปริมาณปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง
ดิน : ใช้ดินร่วนซุย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/กอ ปีละ 4-5 ครั้ง
การขยายพันธุ์ : แยกหน่อหรือตัดชำใบ
โรคและแมลง : ไม่ค่อยพบโรคและแมลงที่ก่อให้เกิดปัญหา

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

บล็อกดี มีสาระ เนื้อหาน่าอ่าน

แสดงความคิดเห็น

 
 
Copyright © abczaa...