คาลิล ยิบราน เกิดที่ Bechari ประเทศเลบานอน ในปี ค.ศ.๑๘๘๓ ตายที่นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. ๑๙๓๑ เป็นกวี นักเขียน และศิลปินที่ได้รับสมญานามว่า "วิลเลียมเบลคแห่งศตวรรษที่ ๒๐" บิดามารดาของยิบรานเป็นผู้มีการศึกษาและวัฒนธรรมดี ตระกูลทางมารดาได้ชื่อว่าเก่งดนตรีที่สุดในหมู่บ้าน ยิบรานได้แสดงฝีมือทางวาดเขียน ก่อสร้าง ปั้น และแต่เรียงความมาตั้งแต่เยาว์วัย เมื่ออายุ ๘ ปี ก็สนใจและเข้าใจซาบซึ้งในงานของไมเคิล แอนเยลโลและเลโอนารโดดารวินชิ ในปี ๑๘๙๕ ครอบครัวของเขาได้เดินทางไปตั้งรกรากยังสหรัฐอเมริกา แต่เมื่ออายุได้สิบสี่ปีครึ่ง ยิบรานก็เดินทางกลับมายังเลบานอนและเข้าเรียนในสถานศึกษาภาษาอาหรับของซีเรีย ต่อมาเขาได้เดินทางไปศึกษาศิลปะกับโรแดง ( Rodin) ปฏิมากรชาวฝรั่งเศสที่ Ecole des Beaux Arts ในกรุงปารีส ในปี ค.ศ. ๑๙๑๒ ยิบรานเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกาและพำนักอยู่ในกรุงนิวยอร์ค และที่นั่นเอง เขาก็ได้ริเริ่มก่อตั้งสมาคมนักเขียนชาวอาหรับ (Arabic P.E.N. Club) และได้เป็นนายกของสมาคมด้วย
งานประพันธ์ของยิบรานได้มีอิทธิพลจูงใจคนรุ่นหลังมาก ทั้งผู้ใช้ภาษาอาเรบิคในประเทศอาหรับและในอเมริกา ตลอดทั้งยุโรป เอเชีย ตั้งแต่ประเทศจีนถึงสเปน งานชิ้นแรกๆ ของยิบราน เป็นบทเขียนและบทกวีภาษาอาหรับ งานเหล่านั้นแสดงทัศนะเห็นแจ้งในธรรมะ ความงดงามในท่วงทำนอง และแนวใหม่ที่จะเข้าแก้ปัญหาของชีวิต ยิบรานเริ่มใช้ภาษาอังกฤษในการเขียนของเขาตั้งแต่อายุยังไม่ถึงยี่สิบปี งานชิ้นที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาคือ ชิ้นที่ชื่อ "THE PROPHET" ซึ่งกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน งานชิ้นนี้ได้ถูกแปลถ่ายทอดเป็นภาษาต่างๆ ไม่น้อยกว่าสิบสามภาษา อ่านกันแพร่หลายอย่างยิ่งทั่วโลก ยิบรานได้บรรจุหลักสัจธรรมไว้ด้วยสำนวนกวีอ่านง่ายแต่ไพเราะ เข้าถึงชนทุกชั้น นับเป็นทั้งบทกวี ปรัชญาและธรรมะ พร้อมกันไปในตัว บุคคลในหลายเชื้อชาติและต่างลัทธิศาสนาจำนวนมากได้ยึดถือเอาคำสอนในงานชิ้นนี้เป็นเสมือนประทีป นำแนวทางแห่งการดำรงชีวิต ทั้งนี้เพราะสัจธรรมนั้นเป็นของกลาง แม้ว่าจะกล่าวออกมาในเปลือกหุ้มใดๆ ก็มีธรรมชาติอันแท้เป็นสมบัติของมนุษย์ทั่วไปไม่ว่าชาติ ภาษา หรือลัทธิใด ศาสนาใด
ข้าพเจ้าแปลงานชิ้นนี้เป็นภาษาไทย ตั้งแต่ราว พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้คัดบางส่วนลงพิมพ์ในที่หลายแห่ง ต้นฉบับแปลสมบูรณ์หายไปในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๗ - ๘ จึงได้แปลใหม่อีกครั้งหนึ่ง ตัวอัลมุสตาฟาในเรื่องตอบปัญหาหลักธรรมถึง ๒๖ หัวข้อด้วยกัน ล้วนบรรจุข้อปรัชญาอันลึกซึ้งและไพเราะด้วยลีลากวีไว้ทั้งสิ้น ข้าพเจ้าได้พยายามถ่ายทอดความไพเราะของต้นฉบับเดิมออกมาอย่างเต็มที่แล้ว เชื่อว่าท่านที่สนใจคงจะได้รับรสและความซาบซึ้งจากฉบับแปลนี้ตามสมควร
ระวี ภาวิไล มีนาคม ๒๕๐๔
About Me
- abczaa
- เว็บบล็อกนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นอีกหนึ่งแหล่งรวมเรื่องราวไลฟ์สไตล์ในหลากหลายแง่มุมของคนรุ่นใหม่ ทั้งด้านการท่องเที่ยว การพักผ่อน การตกแต่ง บ้านและสวน สุขภาพ รวมถึงเทคโนโลยี ตลอดจนแนวคิด และปรัชญาชีวิต พร้อมทั้งเรื่องราวต่างๆ หลากหลาย ที่บรรจงถ่ายทอดผ่านบทความที่น่าสนใจ ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความซ่า...ด้วยการติดตามผลงาน และร่วมเสนอแนะความคิดเห็น เป็นกำลังใจให้กัน และอย่าลืมสมัครสมาชิก พร้อมซ่า...ไปด้วยกันทุกที่กับ...abczaa...ความซ่าไม่มีขีดจำกัด
Labels
- กีฬา (3)
- แง่คิดดีๆ (5)
- ชมสวน (4)
- ชวนท่องเที่ยว (2)
- ดูแลสุขภาพ (5)
- เทคโนโลยี (3)
- บ้านสวย (1)
- เรื่องน่ารู้ (5)
- สัพเพเหระ (4)
- อาหารคุณภาพ (3)
พยากรณ์อากาศ
คาลิล ยิบราน KHALIL GIBRAN
วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
เขียนโดย abczaa ที่ 07:43
ป้ายกำกับ: เรื่องน่ารู้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น